วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ความผิดอาญาที่ยอมความกันได้


ความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
มีดังนี้ครับ

ม.๒๗๒   เอาชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่นมาใช้
ม.๒๗๖ วรรคแรก   ข่มขืนกระทำชำเราธรรมดา
ม.๒๗๘   กระทำอนาจาร(มิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความ  
             ตาย, ไม่เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรือผู้อยู่ในความ    
               ปกครอง)
ม.๒๘๔   พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
ม.๒๐๙ วรรคแรก   ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
ม.๓๑๐ วรรคแรก   หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
ม.๓๑๑   หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นโดยประมาท
ม.๓๒๒   เปิดเผยความลับในจดหมาย  โทรเลข
ม.๓๒๓   เปิดเผยความลับของผู้อื่นที่รู้มาโดยหน้าที่
ม.๓๒๔   เปิดเผยความลับในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์
ม.๓๒๖   หมิ่นประมาทคนเป็น
ม.๓๒๗   หมิ่นประมาทคนตาย
ม.๓๒๘   หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
ม.๓๔๑   ฉ้อโกงธรรมดา
ม.๓๔๒   ฉ้อโกงประกอบด้วยเหตุพิเศษ
ม.๓๔๔   หลอกลวงคนให้ไปทำงาน
ม.๓๔๕   สั่งซื้ออาหารหรือเข้าอยู่ในโรงแรมโดยไม่มีเงิน
ม.๓๔๖   ชักจูงให้เด็กเบาปัญญาขายของโดยเสียเปรียบ
ม.๓๔๗   ฉ้อโกงในเรื่องประกันวินาศภัย
ม.๓๔๙   ฉ้อโกงเจ้าหนี้จำนำ
ม.๓๕๐   ฉ้อโกงเจ้าหนี้ธรรมดา
ม.๓๕๒   ยักยอกทรัพย์ธรรมดา
ม.๓๕๓  ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์แทนเขา
ม.๓๕๔   ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำสั่งศาล
ม.๓๕๕   ยักยอกทรัพย์เก็บตก
ม.๓๕๘   ทำให้เสียทรัพย์ตามธรรมดา
ม.๓๕๙   ทำให้เสียทรัพย์ชนิดพิเศษ
ม.๓๖๒   บุกรุกตามธรรมดา
ม.๓๖๓   บุกรุกโดยย้ายเครื่องหมายอสังหาริมทรัพย์
ม.๓๖๔   เข้าไปซ่อนตัวในอาคารคนอื่น

ความผิดอาญาที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ที่กฎหมายให้เป็นความผิดที่ยอมความกันได้เมื่อผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นญาติกันตาม ม.๗๑
ม.๓๓๔   ลักทรัพย์ธรรมดา
ม.๓๓๕   ลักทรัพย์ประกอบเหตุพิเศษ(เหตุฉกรรจ์)
ม.๓๓๖ วรรคแรก   วิ่งราวทรัพย์ตามธรรมดา
ม.๓๕๗   รับของโจร
ม.๓๖๐   ทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เสียหาย

(ม.๗๑ :          ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นั้น ถ้าเป็นการกระทำที่สามี กระทำต่อภริยาหรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้สืบ สันดาน ผู้สืบสันดาน กระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน กระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็น ความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้  )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น