วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

สรุปการบรรยายร่วมของชมรมฯ กับ สจส.


สรุปการบรรยายร่วมของชมรมผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
กับ สถาบันจัดการทางสังคม(สจส.) จังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง “การปฏิบัติหน้าที่ของไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง” 
วันพฤหัสฯที่ 1มีนาคม  2555   เวลา  9.00  นาฬิกา 
ณ  โรงแรมศิรินาถ การ์เดน  ถ.ริมคลองชลประทาน  ต.สุเทพ  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่

9.30-10.00 น.        นายประกฤต   คำดวงดาว  รองประธานชมรมฯ กล่าวเปิดการบรรยาย โดยกล่าวว่าในการบรรยายของผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ได้ ก็ด้วยความอนุเคราะห์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยสถาบันจัดการทางสังคม(สจส.) จังหวัดเชียงใหม่ เอื้อเฟื้อค่าใช้จ่ายสำหรับสถานที่โรงแรม  อาหารกลางวัน อาหารว่าง และช่วยเหลือค่าเดินทางแก่ผู้ไกล่เกลี่ยและข้าราชการส่วนงานที่เกี่ยวข้องทุกท่าน รวมทั้งสิ้น  50 ท่าน  ซึ่งลำพังแล้วทางชมรมฯ ซึ่งไม่มีทุนหรืองบประมาณจากหน่วยงานใดมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายของชมรมฯ แต่อย่างใด  จึงต้องขอแสดงความขอบคุณต่อทาง สสส.และ สจส. มา ณ โอกาสนี้ด้วย

                              สำหรับการที่จะขับเคลื่อนงานของผู้ไกล่เกลี่ยฯ ให้เป็นไปตามประกาศของกฎกระทรวง  นอกจากจะต้องมีความรู้ที่มาของกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย การประนีประนอมข้อพิพาทแล้ว ผู้ไกล่เกลี่ยยังต้องเสริม สร้างทักษะในการเจรจาไกล่เกลี่ย  มีจรรยาบรรณ อีกด้วย ซึ่งจะคุยกันเรื่องนี้ในช่วงบ่าย แต่ในช่วงเวลานี้ ขอมอบให้ทาง สจส. มาพูดเรื่องหลักข้อกฎหมาย เพื่อให้ความยุติธรรมต่อสังคมและจังหวัดจัดการตนเอง

10.00-12.00 น.      นายสวิง   ตันอุด  จาก สจส. ได้ขึ้นมากล่าวถึงความจำเป็นที่รัฐจะต้องจัดการปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างเอกชนในชุมชนที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เมื่อไม่ยอมกันและกัน  ต่างก็นำเรื่องเป็นคดีขึ้นสู่กระบวนการศาลยุติธรรม แม้แต่เรื่องขัดแย้งกันเล็กๆ น้อยๆ  กลายเป็นมีคดีรกโรงรกศาลจนทุกวันนี้  จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของศาล ซึ่งทุกท่านในห้องประชุมนี้ทราบกันดีอยู่แล้ว

                              ในส่วนการจะสร้างความเป็นธรรม ความยุติธรรมต่อสังคมอีกทางหนึ่ง คือการให้ท้องถิ่นได้จัดการตนเอง ให้จังหวัดดูแลปกครองกันเอง โดยจะมีการเสนอกฎหมายให้จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดการปกครองตนเอง มีผู้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้ง ดังเช่นการบริหารของ กทม.  ประเทศไทยก็ยังคงเป็นรัฐเดียว  มิได้เป็นการแบ่งแยกการปกครองออกมา   ทุกวันนี้เงินภาษีที่เก็บได้ในจังหวัดเชียงใหม่ ต้องส่งเข้าไปยังส่วนกลาง  แต่ได้รับกลับมาบริหารในจังหวัดเพียงน้อยนิด  ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อท้องถิ่น  ทาง สจส.จะได้จัดให้มีการประชุมเสวนาในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เพื่อทำความเข้าใจกับชาวเชียงใหม่ เพื่อการเสนอร่าง พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง  ที่โรงแรม ดิ เอ็มเพรส  ในวันที่ 26-28 มีนาคม 2555  นี้  จึงขอเชิญทุกๆ คนที่ส่วนใจไปร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นกันได้เต็มที่ในวันและเวลาดังกล่าว

12.00-13.00 น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น.      นางพึงพิศ   สมนาวรรณ  ประธานชมรมผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททาทางแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่  ได้ขึ้นมากล่าวถึงจรรยาบรรณของผู้ไกล่เกลี่ย  การเสริมสร้างบุคลิกในการดำเนินการไกล่เกลี่ยให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ศรัทธาแก่คู่กรณี  ฯลฯ

14.00-15.30 น.      นายธัทัต  ประกอบเที่ยง  นิติกรชำนาญการ  และนายทศน์พล   เอี่ยมโอษฐ์ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ได้มาให้ความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนตอบปัญหาซักถามของผู้ไกล่เกลี่ย  เช่นบางอำเภอ ยังไม่มีการให้ความรู้แก่ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยฯ, ไม่มีห้องหรือส่วนทำการไกล่เกลี่ยฯ ประจำอำเภอ,  ไม่มีงานไกล่เกลี่ยหรือไม่เคยได้รับแจ้งให้ไปทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยฯ  เพราะที่อำเภอตนไม่เคยมีการร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยฯ 

                              นายธีทัต  ประกอบเที่ยง  และนายทศน์พล   เอี่ยมโอษฐ์  แจ้งว่าในปัญหาเหล่านี้ น่าจะเกิดจากในช่วงปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการโยกย้ายนายอำเภอและปลัดอำเภออาวุโสหลายแห่ง บางอำเภอย้ายมาไม่ทันไร ต้องย้ายไปยังแห่งใหม่อีก บางอำเภอก็ยังไม่มีนายอำเภอคนใหม่ย้ายเข้าไปดำรงตำแหน่ง  จึงทำให้งานด้านไกล่เกลี่ยฯ ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วหรือต่อเนื่อง  แต่จังหวัดได้พยายามเข้าไปดำเนินการแก้ไขทุกครั้งที่ได้รับทราบปัญหา  

                              ส่วนปัญหาเรื่องงบประมาณนั้น ทราบว่าทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะได้มีการจัดสรรงบประมาณให้อำเภอ ก็จะได้มีการติดตามในเรื่องของรายละเอียดต่อไป

ฯลฯ  

15.30 น.                 ปิดการบรรยาย


หลังการบรรยาย มีผู้ไกล่เกลี่ยสมัครเป็นสมาชิกชมรมฯ พร้อมทั้งชำระค่าสมัครคนละ  200  บาท จำนวน  11 คน  ดังนี้

1.         นางเพียรศรี                   ประทุมทา              อำเภอดอยหล่อ
2.         นางธัญญารัตน์             จันทร์อารี               อำเภอดอยหล่อ
3.         นายเสน่ห์                       เซมู                        อำเภอไชยปราการ
5.         นางอรญา                      รักษ์ขันติ                อำเภอสันทราย
6.         นายอิ่นแก้ว                    ท้าวบุญเรือง          อำเภอจอมทอง
7.         นางวัลภา                       ปานหมอก             อำเภอฝาง
8.         นายจำรัส                       คำมูล                     อำเภอแม่ริม
9.         นางอภิญญา                  สุนนท์ชัย               อำเภอฝาง
10.        ด.ต.เมธา                       นิลวิเศษ                 อำเภอดอยสะเก็ด
11.        นางวรวรรณ                   มหานันทโพธิ์         อำเภอเมือง




ลงขื่อ
                     ผู้บันทึกการบรรยาย
            (  นายวีระยุทธ   บูรณะประภา  )
                      เลขานุการชมรมฯ
              

              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น