วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โปรดอย่าอ่านเงียบๆ ซิครับ จะติหรือจะแย้งได้นะครับ


              คือผู้เขียนอยากได้รับการโต้แย้ง เพื่อที่จะปรับปรุงความคิดที่คลาดเคลื่อนของผู้เขียน  เพื่อที่จะปรับจูนให้เข้ากับท่านผู้อ่าน  อีกทั้งอยากได้ผู้ที่เข้าใจกฎหมาย เข้าใจข้อบังคับของกฎกระทรวงนี้ได้เข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้ความเข้าใจให้แก่กันไงครับ 

หรือว่าเบื่อกับบทความที่เกี่ยวกับตัวบทกฎหมายแล้ว 

ช่วงนี้ผู้เขียนอาจยังไม่มีบทความใหม่ จึงอยากได้ความคิดเห็นของทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่าน  ตำหนิได้ครับ ผู้เขียนยินดีรับไว้ปรับปรุง  ไม่ใช่รับฟังเฉยๆ  

เชิญนะครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

7 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน

    เข้ามาอ่านทั้งที แล้วจะไม่เม้นท์อะไรสักนิดเหรอครับ

    ซักหน่อยนะครับ

    ตอบลบ
  2. ผู้ไกล่เกลี่ย อ.สารภี ได้ออกแบบป้าย"ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง อำเภอสารภี" แล้ว รอการปรับแต่งขนาดและสั่งทำอยู่ครับ

    ตอบลบ
  3. รบกวนถามคะ หากต้องการติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ย เบอร์อะไรคะ สนใจพานักศึกษาเข้าไปศึกษาดูงานคะ

    ตอบลบ
  4. ขอโทษด้วยครับที่ตอบช้า ช้ามากๆ เนื่องจากติดธุระส่วนรวมครับ

    ผมขอเรียนคุณเศรษฐพรเพื่อทราบว่า ปัจจุบันได้มีการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง ประจำทุกอำเภอทั่วประเทศ
    แล้ว โดยจะตั้งอยู่ในส่วนของที่ว่าการอำเภอ โดยมีปลัดอำเภอที่รับผิดชอบงานศูนย์อำนวยความเป็นธรรม ดูแลอยู่ คุณเศรษฐพรสามารถติดต่อสอบถามได้ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งครับ

    แต่งานไกล่เกลี่ยที่จะมีผู้ไกล่เกลี่ยฯ ของอำเภอเข้าปฏิบัติหน้าที่นั้น จะมีก็ต่อเมื่อเป็นวันที่ได้กำหนดเป็นวันนัดหมายที่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายได้นัดคู่พิพาทมาพบที่ศูนย์ฯ เท่านั้น หากเป็นวันปกติที่ไม่มีการนัดหมายคู่พิพาทให้มาพบ ก็จะไม่มีผู้ไกล่เกลี่ยฯ เข้าไปยังที่ว่าการอำเภอครับ

    ส่วน"ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่" ตั้งอยู่ในส่วนของที่ตั้งส่วนราชการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ (อาคารช้างเผือกเรสซิเดนท์)เลขที่ ๒๕/๑ ซอย ๒ ถ.ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ นี้ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับการติดต่อประสานงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ของแต่ละอำเภอ แต่มิได้มีตัวแทนผู้ไกล่เกลี่ยฯ ประจำอยู่

    หากคุณเศรษฐพรมีข้อสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามผมได้อย่างเต็มที่ครับ โดยผมจะไปนั่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ประชาชนทั่วไป ณ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ดังที่กล่าวข้างต้น โทรศัพท์ ๐๕๓-๒๓๑-๑๕๗ หรือโทรศัพท์ส่วนตัว ๐๘๑-๙๕๑-๒๖๗๔ ครับ ขอขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจครับ / วีระยุทธ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ27 สิงหาคม 2556 เวลา 14:08

    ขอรบกวนสอบถามเรื่องคดีฟ้องร้องของกองทุนหมู่บ้านค่ะ
    ถ้าผู้กู้หนีไปไม่ผ่อนชำระ ผู้ค้ำมีความผิดอะไรบ้างคะ ตอนนี้มีหมายศาลแจ้งมาที่บ้านแล้วค่ะ
    ขอบคุณค่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่วนใหญ่ ผู้ค้ำประกัน เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่งครับ

      การเข้าค้ำประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่น หากผู้นั้นไม่ชำระเมื่อหนี้ถึงกำหนด

      ผู้ค้ำประกันก็ย่อมต้องรับผิดชอบหนี้ของผู้กู้นั้นด้วย

      แต่จะรับผิดชอบอย่างไรนั้น ต้องดูที่สัญญาค้ำประกันด้วยนะครับ


      อันดับแรกคุณควรตรวจดูในสัญญาค้ำประกันที่แนบมาท้ายฟ้องด้วย ว่ามีระบุว่าให้รับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมหรือไม่

      ส่วนใหญ่ในสัญญากู้ยืมของกองทุนหมู่บ้าน มักจะระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม

      คือรับผิดชอบดุจเป็นตัวลูกหนี้ที่กู้เงินมาใช้เอง โดยเมื่อกองทุนหมู่บ้านฯ ได้ยื่นฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว

      กองทุนหมู่บ้านฯ ก็จะเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมาย สามารถเลือกที่จะบังคับเอาจากผู้กู้หรือคนค้ำประกันก่อนก็ได้

      แต่ถ้าหากไม่มีการระบุว่า “ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม” แล้ว เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมายแล้ว

      กองทุนหมู่บ้านฯ จะต้องทำการบังคับเอาหนี้จากผู้กู้เสียก่อน เมื่อบังคับเอาไม่ได้หรือได้แต่ขาดไปอีกเพียงใด

      จึงจะสามารถมาเรียกหรือบังคับเอากับผู้ค้ำประกันได้ครับ


      การเข้าต่อสู้คดีในศาลเรื่องกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านนี้ ไม่จำเป็นต้องจ้างทนายความให้เสียเงินนะครับ

      เพราะคงจะไม่ชนะกองทุนหมู่บ้านฯ หรอกครับ เอาเงินที่จะจ้างทนายไว้รอชำระหนี้แทนผู้กู้ที่หนีไปดีกว่า

      ถึงวันนัดคดีที่ศาล เราก็ไปศาลด้วยตัวเอง นัดแรกน่าจะเป็นการนัดไกล่เกลี่ย ไปเจรจากันในวันนัดนั้นเลย

      คนค้ำประกันในสัญญากู้มีกี่คน ไปให้หมด ไปเสนอขอผ่อนชำระเป็นรายเดือน

      แล้วค่อยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่เราเรียกสั้นๆ ว่า สัญญายอมความ

      เว้นแต่ผู้กู้ยังคงหลบหนีไม่ไปศาลในวันนัดนั้น เมื่อผู้กู้ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ประธานไม่ไปศาล

      กองทุนหมู่บ้านฯ ก็คงจะไม่ทำสัญญายอมความเฉพาะกับเราหรอกครับ เพราะจะต้องถอนฟ้องผู้กู้ออกจากคดีเสียก่อน

      ซึ่งก็เท่ากับผู้กู้ลอยนวลไม่ต้องรับผิดหนี้ที่กู้กับกองทุนหมู่บ้านฯ เลย


      แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเราชำระหนี้แทนให้แก่กองทุนหมู่บ้านแล้ว เราก็ได้การสวมสิทธิ์ฟ้องผู้กู้ให้ชดใช้เงินที่เราชำระแทนนั้นได้ครับ

      หวังว่าคงพอเข้าใจนะครับ แต่หากอยากทราบรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เชิญถามเข้ามาอีกได้นะครับ

      ขอบคุณที่ให้เกียรติถามมาครับ

      ลบ
  6. ขอถามเป็นความรู้ครับ
    กระบวนการได้มาและพัฒนาศักยภาพของผูไกล่เกลี่ยนั้น เป็นอย่างไรบ้างครับ?

    ตอบลบ