วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง จะต้องมีบัตรประจำตัวหรือไม่


          จากที่ผู้เขียนได้ยินว่ามีผู้ไกล่เกลี่ยฯ จำนวนมาก สอบถามกับทางอำเภอว่า ทำไมทางอำเภอถึงไม่ทำบัตรประจำตัวผู้ไกล่เกลี่ยฯ ให้ติดตัวเพื่อแสดงตนต่อชุมชนหรือต่อคู่พิพาทว่าตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ จริงหรือเปล่านั้น 

          ผู้เขียนเข้าใจว่าผู้ไกล่เกลี่ยฯ บางท่าน อาจกำลังเปรียบเทียบการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง  กับการเป็นเครือข่ายและอาสาคุ้มครองสิทธิ หรือที่เราเรียกบุคคลผู้ที่เป็นอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิฯ กันว่า”เครือข่าย” นั้น ซึ่งอาสาสมัครฯ เหล่านี้จะมีบัตรประจำตัวไว้แสดงตนต่อชุมชนหรือต่อผู้อื่นว่าตนเป็นเครือข่ายฯ จริง  แต่ทำไมผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง ซึ่งจะทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทในชุมชนเช่นกันถึงไม่มีบัตรประจำตัวกันเล่า

          ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ตามประสาคนที่ชอบคิดเอง เออเอง อาจไม่ถูกต้องก็ได้ แต่อยากจะมาแชร์ความคิดเห็นแก่ผู้มีจิตอาสาเพื่อช่วยแย้งความคิดเห็นของผู้เขียนว่าคิดไม่ถูกต้องด้วยนะครับ

          งั้นเรามาดูกันก่อนว่า ทำไม “เครือข่าย” ถึงได้มีบัตรประจำตัวได้อย่างถูกต้อง  ก็มาดูที่นี่ก่อน

ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเครือข่ายและอาสาสมัครฯ พ.ศ. ๒๕๔๘
 

ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยเครือข่ายและอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๘
___________________________
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๕ กำหนดให้รัฐ.............
............……..
ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงเห็นควรกำหนดระเบียบการดำเนินงานของเครือข่ายและอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไว้ ดังนี้………..
………………….
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่าระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเครือข่ายและอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘………..
………………….
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป………..
…………………………..
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
………..
เครือข่ายหมายถึง เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
………..
เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหมายถึง กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้ง หรือกลุ่มองค์กรที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพร่วมกับหน่วยงานอื่นจัดตั้งขึ้น อาทิ เครือข่ายวัฒนธรรมเพื่อสิทธิเสรีภาพ จัดตั้งขึ้นทั้งในระดับหมู่บ้านตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค หรือประเทศ โดยสมาชิกของเครือข่ายมีสถานภาพเช่นเดียวกับอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบนี้
………..
อาสาสมัครหมายถึง อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
………..
อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหมายถึง บุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากประชาชนหรือกลุ่มองค์กรประชาชนในชุมชน โดยให้ใช้ชื่อย่อภาษาไทยว่าอสภ.และเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติบทบาท และสิทธิ หน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
………..
อธิบดีหมายถึง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
………..
บัตรประจำตัวหมายถึง บัตรประจำตัวอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
………..

 

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

















          จะเห็นได้ว่า ในระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเครือข่ายและอาสาสมัครฯ พ.ศ. ๒๕๔๘  กำหนดให้ “เครือข่าย” มีบัตรประจำตัวอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

          แต่ในกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๓  มิกำหนดว่าให้ผู้ไกล่เกลี่ยฯ มีบัตรประจำตัวแต่อย่างใด

          แล้ว “เครือข่าย” จะมีบัตรประจำตัวไปแสดงกับใครล่ะ เราก็ลองไปดูหน้าที่ของ “เครือข่าย” ตามที่ระเบียบกระทรวงยุติธรรมฯ กำหนดในหมวด ๒ นะครับ

 

หมวด ๒

………..

บทบาทและหน้าที่

………..

­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­_________________

………..

ข้อ ๙ เครือข่ายและอาสาสมัคร มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

………..

(๑) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือจัดการรณรงค์ และให้ความรู้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน และชุมชนตระหนักในด้านสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

………..

(๒) ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ เป็นผู้ดำเนินการ หรือเป็นผู้ประสานงาน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการจัดการความขัดแย้ง การระงับข้อพิพาทชุมชน

………..

(๓) เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการทำงานด้านสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนดำเนินการหรือให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนากลไกการจัดการความขัดแย้งในชุมชน

………..

(๔) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีเหตุความไม่เป็นธรรมในชุมชน

………..

(๕) ประสานการดำเนินงานตามข้อ (๑) – (๔) ร่วมกับผู้แทนกระทรวงยุติธรรมประจำจังหวัดเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หรือเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่

………..

(๖) เมื่อเครือข่าย หรืออาสาสมัคร มีความพร้อม อาจรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานในชุมชนได้

………..

(๗) ให้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อกรมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หรือตามที่กรมกำหนด

………..

(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กรม หรือหน่วยงานราชการ หรือองค์กรอื่นร้องขอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
















































 
          เราจะเห็นได้ว่า หน้าที่ส่วนใหญ่ของ “เครือข่าย” จะเป็นการต้องออกไปพบพูดคุย การไปจัดการกับความขัดแย้ง ระงับข้อพิพาทของชุมชนยังท้องที่ต่างๆ

          แต่หน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ยฯ คือการทำการระงับข้อพิพาทที่มีคู่พิพาทนำเรื่องมาร้องเรียนต่อนายอำเภอ  เมื่อนายอำเภอได้ตั้งคณะผู้ไกล่เกลี่ยฯ เข้าทำการไกล่เกลี่ยฯ กฎกระทรวงฯ ได้กำหนดให้ทำการไกล่เกลี่ย ณ ที่ว่าการอำเภอ  อาจเป็นในห้องศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ, ห้องประชุมหรือห้องอื่นใดที่อยู่ในที่ว่าการอำเภอ  หากไปไกล่เกลี่ยกัน ณ สถานที่อื่นๆ  เช่นสถานีตำรวจใกล้ๆ กัน  ในวัด หรือที่บ้านพักข้าราชการ ก็อาจทำให้การไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทที่ทำลงได้สำเร็จนั้น มิใช่เป็นการไกล่เกลี่ยตามกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๓  สัญญาประนีประนอมที่เกิดขึ้นมานี้ ก็ไม่อาจใช้บังคับตามกฎกระทรวงฯ ได้

          มองต่อไป คู่พิพาทเป็นผู้เลือกผู้ไกล่เกลี่ยตามบัญชีรายชื่อฯ ที่นายอำเภอให้เลือกเพื่อให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยฝ่ายตน  ก็เท่ากับคู่พิพาทยอมรับความเป็นผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว ไม่ต้องขอดูบัตรฯ

          มองเข้าไปอีกนิดก็จะเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ทำการไกล่เกลี่ยจนสามารถตกลงกันได้โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อให้ใช้บังคับกันได้นั้น จะเกิดขึ้นในห้องที่ทำการไกล่เกลี่ยโดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ย  ซึ่งการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯในห้องนี้  ก็ไม่ต้องมาแสดงบัตรอะไรให้ดูกัน  เมื่อการไกล่เกลี่ยฯ ไม่ว่าจะยุติลงด้วยประการใดๆ แล้ว พอออกจากห้องที่ใช้ทำการไกล่เกลี่ยฯ ผู้ไกล่เกลี่ยก็หมดหน้าที่แล้ว  หากผู้ไกล่เกลี่ยจะดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเองยังนอกที่ว่าการอำเภอ  และสามารถทำให้คู่พิพาทตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้นั้น  สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดขึ้น ก็เป็นสัญญาฯ ธรรมดา หากมีการผิดสัญญา คู่ความอีกฝ่ายต้องนำสัญญาฯ นี้ไปฟ้องร้องต่อศาลเองต่อไป

          ผู้เขียนจึงเห็นว่า การที่กระทรวงฯ มิได้มีข้อกำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยฯ มีบัตรประจำตัว ก็น่าจะด้วยประการฉะนี้

          แต่ครับ  แต่ก็ได้มีการนำเสนอขอให้ผู้ไกล่เกลี่ยฯ มีบัตรประจำตัวไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว  ทราบว่าจะมีการนำไปพิจารณาต่อไป  ต่อไป  และต่อไป ครับ

          อย่างไรก็ตาม  ผู้เขียนอยากขอให้ผู้ไกล่เกลี่ยหลายๆ ท่านที่ประสงค์จะมีบัตรประจำตัวฯ ว่า การได้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามบัญชีรายชื่อฯ และเมื่อได้ทำการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในชุมชนจนเกิดสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้นี้ มีศักดิ์ที่เหนือกว่าบัตรประจำตัวหลายเท่ายิ่งนักครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น